ความหลากหลายทางพันธุกรรมของข้าวโพดข้าวเหนียวพันธุ์การค้า 18 พันธุ์ โดยใช้เครื่องหมายโมเลกุลชนิด SRAP
คำสำคัญ:
เครื่องหมายดีเอ็นเอ, ความหลากหลายทางพันธุกรรม, ข้าวโพดข้าวเหนียว, ข้าวโพดหวานบทคัดย่อ
เพื่อศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมของข้าวโพดข้าวเหนียวจำนวน 18 พันธุ์ ประกอบด้วย พันธุ์ลูกผสมการค้า 2 พันธุ์ พันธุ์ผสมเปิด 13 พันธุ์ พันธุ์จากต่างประเทศ 3 พันธุ์ เปรียบเทียบกับพันธุ์ข้าวโพดหวาน 2 พันธุ์ โดยใช้เครื่องหมายโมเลกุลชนิด SRAP (Sequence-Related Amplified Polymorphism) พบว่า ไพรเมอร์ 12 คู่ ให้แถบดีเอ็นเอที่แตกต่างกัน 61 แถบ วิเคราะห์ความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมและจัดกลุ่มโดยใช้วิธี Unweighted pair group method with arithmetic averages (UPGMA) พบว่า ได้ค่าสัมประสิทธิ์ความเหมือน (Dice’s similarity coefficient) ระหว่าง 0.35-0.76 สามารถจัดกลุ่มข้าวโพดข้าวเหนียวและข้าวโพดหวานออกเป็น 4 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 มี 2 พันธุ์คือ ข้าวโพดข้าวเหนียวพันธุ์ลูกผสม (Violet white-926) และข้าวโพดข้าวเหนียวพันธุ์ต่างประเทศ (Chinawax-23) กลุ่มที่ 2 ข้าวโพดหวาน (Supergold และ Supersweet-3A) และข้าวโพดข้าวเหนียวพันธุ์การค้าซึ่งเป็นพันธุ์ลูกผสม (Bigwhite#854) พันธุ์ผสมเปิด (White Hawk หัวปลี-20 สโนไวท์-ซีดไลน์ ปุ้มปุ้ย-สิงโต และข้าวเหนียวหวาน-14) และพันธุ์ต่างประเทศ (Chinawax-2และ Chinawax-2000) ถูกจัดอยู่ในกลุ่มเดียวกัน ส่วนกลุ่มที่ 3 เป็นข้าวโพดข้าวเหนียวพันธุ์ผสมเปิด 4 พันธุ์ คือพันธุ์ไข่มุกปุ้มปุ้ย ข้าวเหนียวนครปฐม ข้าวโพด 8 แถว และสโนไวท์ และกลุ่มที่ 4 เป็นข้าวโพดข้าวเหนียวพันธุ์ผสมเปิด ซึ่งเป็นกลุ่มของข้าวโพดเทียนฝักเล็ก 2 พันธุ์คือ พันธุ์ขาวข้าวเหนียว และ พันธุ์น้ำน่าน ส่วนข้าวโพด 2 พันธุ์ที่ไม่สามารถจัดกลุ่มได้คือ พันธุ์น้ำยม และพันธุ์น้ำวัง ผลการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่า กลุ่มพันธุ์ข้าวโพดข้าวเหนียวที่นำมาทดสอบมีความหลากหลายทางพันธุกรรมที่สามารถใช้ในการคัดเลือกพันธุ์สำหรับใช้เป็นพ่อแม่เพื่อสร้างประชากรปรับปรุงพันธุ์ได้
References
กิตติยา โพบำรุง. 2554. การศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมของข้าวโพดข้าวเหนียวและข้าวโพดเทียน. ปัญหาพิเศษปริญญาตรี สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพทางการเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ทวีศักดิ์ ภู่หลำ. 2540. ข้าวโพดหวาน การปรับปรุงพันธุ์และการปลูกเพื่อการค้า. โอเดียนสโตร์, กรุงเทพฯ. 143 หน้า.
ทิพย์ เลขะกุล. 2529. ข้าวโพดข้าวเหนียวและข้าวโพดเทียน. ชาวเกษตร 67:4-17.
ประภา กัณฐศากุล, สุทัศน์ ศรีวัฒนพงศ์ และจินดา จันทร์อ่อน. 2535. ส่วนประกอบบางอย่างของข้าวโพดฝักสด, น. 1-3. ใน เอกสารประกอบการสัมนาข้าวโพดหวาน, ณ ศูนย์วิจัยพืชไร่เชียงใหม่, เชียงใหม่.
สุรินทร์ ปิยะโชคณากุล. 2552. เครื่องหมายดีเอ็นเอ: จากพื้นฐานสู่การประยุกต์. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ. 269 หน้า.
องค์การตลาดเพื่อเกษตรกร. 2552. คู่มือการถ่ายทอดเทคโนโลยี โครงการส่งเสริมการผลิตสินค้าเกษตรที่ได้มาตรฐานและปลอดภัย. กรุงเทพ ฯ. 10 หน้า.
Fergason, V.L. 2001. High amylose and waxy corns, pp. 63-84. In A.R. Hallauer, ed. Specialty corns. CRC Press, USA.
Jingade, P., A. K. Huded, B. Kosaraju, and M. K. Mishra. 2019. Diversity genotyping of Indian coffee (Coffea arabica L.) germplasm accessions by using SRAP markers. J. Crop Improve. 33(3):327–345.
Li, G. and C.F. Quiros. 2001. Sequence-related amplified polymorphism (SRAP), a new marker system based on a simple PCR reaction: its application to mapping and gene tagging in Brassica. Theor. Appl. Genet. 103: 455-461.
Pan, D., W. Yu-Ming, C.Guo-Yue, L. Wei, W. Ji-Rui, N. Eviatar and Z. You-Liang. 2010. Sequence-related amplified polymorphism (SRAP) of wild emmer wheat (Triticum dicoccoides) in Israel and its ecological association. Biochem. Syst. Ecol. 38: 1–11.
Pineda-Hidalgo, K.V., K.P. Méndez-Marroquin, E.V. Alvarez, J.Chávez-Ontiveros, P. Sánchez-Peña, J.A. Garzón-Tiznado, M.O. Vega-Garcia and J.A. López-Valenzuela. 2013. Microsaltellite-based genetic diversity among accessions of maize landraces from Sinaloa in Mexico. Hereditas 150(4-6): 53-59.
Sanchez, G.J.J. and M.M. Goodman. 1992. Relationships among the Mexican races of maize. Econ. Bot. 46(1):72-85.
Thakor . M. C., R. S. Fougat, S. Kumar and A. A. Sakure. 2019. Sequence-related amplified polymorphism (SRAP) analysis of teak (Tectona grandis L.) germplasm. Ecol. Genet. Genom. 12: article 100041.
Zhang, X., H. Chen, S. A. Channa, Y. Zhang, Y. Guo, M. Klima, F. Yu. and S. Hu. 2017. Genetic diversity in Chinese and exotic Brassica rapa L. accessions revealed by SSR and SRAP markers. Braz. J. Bot. 40 (4): 973–982.