การประเมินปริมาณสารต้านอนุมูลอิสระในเนื้อ และเปลือกมะม่วงสุก

ผู้แต่ง

  • ดรุณี ถาวรเจริญ สถานีวิจัยปากช่อง ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • พูนพิภพ เกษมทรัพย์ ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • กัลยาณี สุวิทวัส สถานีวิจัยปากช่อง ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • ขวัญหทัย ทนงจิตร สถานีวิจัยปากช่อง ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • พิมพ์นิภา เพ็งช่าง สถานีวิจัยปากช่อง ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • เจนจิรา ชุมภูคำ ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คำสำคัญ:

Mangifera indica L., คุณค่าทางโภชนาการ, วิตามินซี, ปริมาณสารฟีนอลิกทั้งหมด, เบต้าแคโรทีน

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินสารต้านอนุมูลอิสระในเนื้อ และเปลือก มะม่วงผลสุกจำนวน 9 พันธุ์     (มหาชนก น้ำดอกไม้ น้ำดอกไม้เบอร์ 4 น้ำดอกไม้สีทอง อกร่องทอง กะล่อนทอง ทองดำ หนังกลางวัน และนาทับ) พบว่า สารต้านอนุมูลอิสระระหว่างพันธุ์ในเนื้อ และเปลือกมะม่วงผลสุกทั้งหมด มีความแตกต่างกันทางสถิติ (P<0.01) โดยพบว่าปริมาณวิตามินซีในเนื้อมะม่วงพันธุ์ทองดำมีค่ามากที่สุด 105 มิลลิกรัมต่อ 100 กรัมน้ำหนักสด ส่วนในเปลือก     มหาชนกมีค่ามากที่สุด 86.22 มิลลิกรัมต่อ 100 กรัมน้ำหนักสด ปริมาณฟีนอลิกทั้งหมดกะล่อนทอง มีแนวโน้มค่าค่อนข้างสูง 85.85 มิลลิกรัมต่อ 100 กรัมน้ำหนักสด ส่วนในเปลือกมหาชนกมีค่ามากที่สุด 4,644 มิลลิกรัมต่อ 100 กรัมน้ำหนักสด ปริมาณฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระกะล่อนทองมีแนวโน้มค่าค่อนข้างสูง 5.66 ไมโครโมลต่อกรัมน้ำหนักสด ส่วนในเปลือกน้ำดอกไม้เบอร์ 4 มีค่ามากที่สุด 490.56 ไมโครโมลต่อกรัมน้ำหนักสด และปริมาณเบต้าแคโรทีนทองดำมีค่ามากที่สุด 17.20 มิลลิกรัมต่อ 100 กรัมน้ำหนักสด ส่วนในเปลือกน้ำดอกไม้สีทองมีค่ามากที่สุด 11.31 มิลลิกรัมต่อ 100 กรัมน้ำหนักสด จากผลการทดลองในเปลือกมีสารต้านอนุมูลอิสระมากกว่าในเนื้อมะม่วง ดังนั้นสามารถเลือกนำพันธุ์มะม่วง             ไปรับประทานสดพร้อมเปลือกตั้งแต่ผลเล็ก หรือนำไปพัฒนาในการถนอมอาหารที่กินได้ทั้งเปลือก หรือนำเปลือกไปอบแห้งเพื่อบริโภคต่อไป โดยข้อมูลนี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภค ผู้แปรรูปมะม่วง และผู้สนใจในการเลือกใช้พันธุ์มะม่วง

References

กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์. 2564. รายงานแนวโน้มสินค้ามะม่วงในตลาดจีน. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล:https://www.ditp.go.th/ditp_web61/article_sub_view.php?filename=contents_attach/732720/732720.p df&title=732720&cate=414&d=0 (31 มีนาคม 2565).

ขวัญหทัย ทนงจิตร องอาจ หาญชาญเลิศ และรักเกียรติ ชอบเกื้อ. 2553. การศึกษาลักษณะประจําพันธุ์มะม่วงเพื่อประโยชน์ในการปรับปรุงพันธุ์. หน้า 89-96. ใน การประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่48 สาขาพืช 3-5 กุมภาพันธ์ 2553. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

จริงแท้ ศิริพานิช. 2550. ชีววิทยาหลังการเก็บเกี่ยวและการวายของพืช. ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, นครปฐม. 463 หน้า.

ดวงพร ภู่ผะกา. 2558. การประเมินปริมาณสารพฤกษเคมีบางประการ ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ และปริมาณสารกลุ่มฟีนอลิกของมะม่วงพื้นเมืองจังหวัดฉะเชิงเทรา. วารสารวิทยาศาสตร์ มข. 43(2): 267-283.

ไพบูลย์ จันทร์วิจิตร. 2550. การปลูกมะละกอ. อักษรสยามการพิมพ์, กรุงเทพฯ. 87 หน้า.

มนรดา สุวรรณวงค์, ณริสสา กิติชัยชาญ, ดรุณี ถาวรเจริญ, ณิชาภัทร ฟองเทพ, ศิริชัย ศิริแก้ว, อัศนัย คล้ายขำ และเกรียงศักดิ์ ไทยพงษ์. 2559. คุณภาพของเนื้อมะละกอในส่วนต่าง ๆ ของผล. วารสารพืชศาสตร์สงขลานครินทร์ 3 พิเศษ(1): 16-22.

ศิริชัย ศิริแก้ว, เกียรติสุดา เหลืองวิลัย และเกรียงศักดิ์ ไทยพงษ์. 2561. การประเมินและคัดเลือกพันธุ์มะละกอเนื้อเหลือง รุ่นที่ 1 เพื่อการบริโภคสุก และการแปรรูปอาหาร. วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร 49 พิเศษ(1): 402-404.

สำนักโภชนาการ. 2565. สารต้านอนุมูลอิสระ (เบต้าแคโรทีน วิตามินอี วิตามินซี) ในผลไม้. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: https: //nutrition2.anamai.moph.go.th/webupload/6x22caac0452648c8dd1f534819ba2f16c/202011/mpage/32007/551/file_download/45bd7622cfad2f7e916ea564e2780dd4.pdf (1 ตุลาคม 2565).

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. 2565. สถิติการส่งออก. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://impexp.oae.go.th/service/export. php?S_YEAR=2564&E_YEAR=2564&PRODUCT_GROUP=5252&wf_search= &WF_ SEARCH =Y (1 ตุลาคม 2565).

Anthon, G. and D. M. Barrett. 2007. Standardization of a rapid spectrophotometric method for lycopene analysis. Acta Horticulturae 758: 111-128.

Association of Office Analytical Chemists. 1990. Official Methods of Analysis. 15th ed. George Banta Washington, DC. 771 p.

Benzie, I. F. F. and J.J. Strain. 1996, The ferric reducing ability of plasma (FRAP) as a measure of “antioxidant power”: the FRAP assay. Analytical Biochemistry 239(1): 70-76.

Karanjalker G.R., K.S. Shivashankara, T.K. Roy, M.R. Dinesh, G.A. Geetha, K.C. Pavithra, and K. V. Ravishankar. 2018. Profiling of anthocyanins and carotenoids in fruit peel of different colored mango cultivars. Food Science and Technology 55(11): 4566-4577.

Langseth, L. 1995. Oxidants Antioxidants and Disease Prevention. International Life Sciences Institute. ILSI Press, Belgium. 32 p.

Noctor, G. and C.H. Foyer. 1998. Ascorbate and glutathione: keeping active oxygen under control. Annual Review of Plant Physiology and Plant Molecular Biology 49(1): 249-279.

Swain, T. and W. E. Hillis. 1959. The phenolic constituents of Prunus domestica I-the quantitative analysis of phenolic constituents. Journal of Science of Food and Agriculture 10(1): 63-68.

Thaipong, K., U. Boonprakob, K. Crosby, L. Cisneros-Zevallos and D.H. Byrne. 2006. Comparison of ABTS, DPPH, FRAP, and ORAC assays for estimating antioxidant activity from guava fruit extracts. Journal of Food Composition and Analysis 19: 669-675.

Veer, P.V., M.C.J.F. Jansen, M. Klerk, and F.J. Kok. 2000. Fruits and vegetables in the prevention of cancer and cardiovascular disease. Public Health Nutrition 3: 103-107.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-03-03

ฉบับ

บท

บทความวิจัย บทความวิชาการ