อัตราและเวลาที่เหมาะสมของการใส่ปุ๋ยไนโตรเจนสำหรับการปลูกหน่อไม้ฝรั่ง

ผู้แต่ง

  • จารุวรรณ จินดาวงศ์ ภาควิชาปฐพีวิทยา คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน
  • วิภาวรรณ ท้ายเมือง ภาควิชาปฐพีวิทยา คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน

คำสำคัญ:

การจัดการธาตุอาหาร, อัตราปุ๋ยไนโตรเจน, ชุดดินกำแพงแสน

บทคัดย่อ

การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาวิธีการจัดการปุ๋ยไนโตรเจนที่เหมาะสมสำหรับการปลูกหน่อไม้ฝรั่งในชุดดินกำแพงแสน ที่ ต.รางพิกุล  อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม โดยวางแผนการทดลองแบบ 4x2 Factorial in randomized complete block จำนวน 3 ซ้ำ ประกอบด้วย 2 ปัจจัย คือ ปัจจัยที่ 1 อัตราการใส่ปุ๋ยไนโตรเจน 4 อัตรา (12 , 18 , 24 และ 30 กิโลกรัมไนโตรเจน/ไร่) และปัจจัยที่ 2 เวลาใส่ปุ๋ย 2 แบบ โดยแบ่งใส่ 2 ครั้ง ทุกๆ 2 สัปดาห์ (ใส่ปุ๋ยหลังตัดต้นแม่ ก่อนพักต้น และใส่เมื่อเริ่มเก็บเกี่ยวผลผลิต)  ผลการศึกษา พบว่า การใส่ปุ๋ยไนโตรเจนอัตรา 30 กิโลกรัม/ไร่ หลังตัดต้นแม่ ให้ผลผลิตรวมสูงสุด 1,002 กิโลกรัม/ไร่ แบ่งเป็นผลผลิตเกรด A 307 กิโลกรัม/ไร่ และผลผลิตเกรด B 334 กิโลกรัม/ไร่ และได้จำนวนหน่อเกรด A และ B เท่ากับ 14,045 และ 28,267 หน่อ/ไร่ ตามลำดับ ทำให้ได้จำนวนหน่อและผลผลิตเกรด A และ B สูงกว่าและแตกต่างจากใส่ปุ๋ยไนโตรเจนอัตราอื่นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ  และนอกจากนี้ การใส่ปุ๋ยไนโตรเจนอัตรา 30 กิโลกรัมไนโตรเจน/ไร่ หลังตัดต้นแม่ให้ผลตอบแทนรายได้สูงสุด ดังนั้น อัตราการใส่ปุ๋ยดังกล่าวจึงเหมาะสมสำหรับการปลูกหน่อไม้ฝรั่งในชุดดินกำแพงแสน

References

กลุ่มวิจัยปฐพีวิทยา. 2553. คำแนะนำการใช้ปุ๋ยกับพืชเศรษฐกิจ. สำนักวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร, กรมวิชาการเกษตร. 122 น.

จิตชนก สารรักษ์. 2549. การหาปริมาณการใช้น้ำและธาตุไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียมที่เพียงพอต่อการให้ผลผลิตของหน่อไม้ฝรั่งพันธุ์ Brock’s Improve. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. กรุงเทพฯ 118 หน้า

ทัศนีย์ อัตตะนันทน์ และจงรักษ์ จันทร์เจริญสุข. 2542. แบบฝึกหัดและคู่มือปฏิบัติการการวิเคราะห์ดินและพืช. ภาควิชาปฐพีวิทยา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. 108 น.

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. 2563. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ https://www.oae.go.th/view/1ตารางแสดงรายละเอียดหน่อไม้ฝรั่ง/TH-TH (วันที่สืบค้นข้อมูล 11 กันยายน 2565)

อรสา ดิสถาพร. 2540. หน่อไม้ฝรั่ง. เอกสารวิชาการ กลุ่มพืชผัก กองส่งเสริมพืชสวน กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, กรุงเทพฯ. 81 หน้า

Barker, A.V. and D.J. Pilbeam. 2007. Handbook of Plant Nutrition. CRC Press, Taylor and Francis Group, Boca Raton, FL. 773 p.

Bray, R.H. and L.T. Kurtz. 1945. Determination of total organic and available forms of phosphorus in soils. Soil Science 59: 39-45.

Drost, D. 2013. Asparagus Nutrient Management. Fact Sheet 14/13 Vegetable, HDC, UK

Drost, D.T. 1997. Asparagus. pp 621-649. In: H.C. Wien (ed.), The Physiology of Vegetable Crops. CAB International.

Klodd, A., V. Fritz, C. Tong and N. Hoidal. 2020. Nutrient management in asparagus. Extension horticulture educators. https://extension.umn.edu/growing-guides/nutrient-management-asparagus#resources-2329410 (วันที่สืบค้นข้อมูล 11 October 2023)

Hossain, K.L., M.M. Rahman, M.A. Banu, T.R. Khan and M.S. Ali. 2006. Nitrogen fertilizer effect on the agronomic aspects of Asparagus racemosus. Asian Journal of Plant Science 5(6): 1012-1016.

Land Classification Division and FAO Project Staff. 1973. Soil Interpretation Handbook for Thailand. Dept. of Land Development, Min. of Agri. and Co-op., Bangkok. 206 p.

Ledgard, S.F., J.A. Douglas, J.M. Follett and M.S. Sprosen. 1992. Influence of time of application on the utilization of nitrogen fertilizer by asparagus, estimated using 15N. Plant and Soil 147 (1): 41-47.

Neeson, R. 2004. Organic Asparagus Production. Agfact H 8.3.5. NSW Agriculture.

Thomas G.W. 1996. Soil pH and soil acidity. pp 475-490. In D. L. Sparks, G.C. Topp, J.M. Bartels, J.H. Dane, and R.W. Weaver (eds). Method of Soil Analysis. Part 3: Chemical Methods. SSSA. Inc., Madison, Wisconsin, USA.

Thomas, G. W. 1982. Exchangeable cations, pp. 159-165. In C.A. Black, (ed.) Methods of Soil Analysis, Part 2. Chemical and Microbiological Properties. 2nd. Agronomy No. 9. ASA and SSSA. Inc., Madison, Wisconsin, USA.

Walkley, A. and I.A. Black. 1934. An examination of the Degtjareff method for determining soil organic matter and a proposed modification of the chromic acid titration method. Soil Science 37: 29-38.

Wilson, D.R., C.G. Cloughley, P.D. Jamieson, and S.M. Sinton. 2002. A model of asparagus growth physiology. ISHS Acta Horticulturae 589: 297-301.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-03-03

ฉบับ

บท

บทความวิจัย บทความวิชาการ