ผลของการพอกเมล็ดพันธุ์แตงกวาร่วมกับ captan และ metalaxyl ต่อคุณภาพเมล็ด และการควบคุมโรคเน่าคอดินในระดับห้องปฏิบัติการ

ผู้แต่ง

  • สุกัญญา เบ้ามีศรี สาขาวิชาพืชไร่ คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้
  • กฤษฏิ์ติบัญชา อ่อนมาก สาขาวิชาพืชไร่ คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้
  • จักริน ปินตา สาขาวิชาพืชไร่ คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้
  • อรัญญา สิงโสภา สาขาวิชาพืชไร่ คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้
  • นรารัตน์ ทาวงค์ สาขาวิชาพืชไร่ คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้
  • ดาวิกา รพีบุญญานนท์ สาขาวิชาพืชไร่ คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้
  • ฉัตรสุดา เผือกใจแผ้ว สาขาวิชาอารักขาพืช คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้
  • อนุพงษ์ สุวะจันทร์ สาขาวิชาอารักขาพืช คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้
  • จักรพงษ์ กางโสภา สาขาวิชาพืชไร่ คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เชียงใหม่

คำสำคัญ:

สารเคมีป้องกันเชื้อรา โรคเน่าคอดิน การพอกเมล็ดพันธุ์ การยกระดับคุณภาพเมล็ดพันธุ์

บทคัดย่อ

เมล็ดพันธุ์แตงกวามักประสบปัญหาความงอก ความแข็งแรงต่ำ และต้นกล้าหลังการงอกไม่สม่ำเสมอ อีกทั้งต้นกล้าแตงกวาที่ได้มักถูกเข้าทำลายจากโรคเน่าคอดินได้ง่าย โดยมีสาเหตุมากจากเชื้อรา Pythium spp. เป็นส่วนมาก จึงแก้ปัญหาโดยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการพอกเมล็ดพันธุ์ร่วมกับสารเคมีป้องกันเชื้อราเพื่อยกระดับการใช้เมล็ดพันธุ์ให้มีประสิทธิภาพสูงที่สุด การศึกษานี้แบ่งออกเป็น 2 การทดลอง โดยการทดลองที่ 1 พบว่า การพอกเมล็ดพันธุ์ด้วย metalaxyl ความเข้มข้น 0.3, 0.5 กรัม/ปริมาณสารออกฤทธิ์ และ captan 0.1 กรัม/ปริมาณสารออกฤทธิ์ ทำให้ความงอกสูงแต่ไม่แตกต่างกับเมล็ดที่ไม่ได้พอกทั้งก่อนและหลังการเร่งอายุเมล็ดพันธุ์ ส่วนการพอกเมล็ดร่วมกับ metalaxyl 0.5 กรัม/ปริมาณสารออกฤทธิ์ ทำให้มีความยาวลำต้นสูงมากกว่าและแตกต่างกันกับเมล็ดที่ไม่ได้พอก เมื่อตรวจสอบหลังการเร่งอายุ พบว่า การพอกเมล็ดร่วมกับ  metalaxyl 0.3 กรัม/ปริมาณสารออกฤทธิ์ มีความยาวลำต้นยาวกว่าวิธีการอื่น ๆ ดังนั้นการพอกเมล็ดด้วย metalaxyl 0.3 และ 0.5 กรัม/ปริมาณสารออกฤทธิ์ จึงมีผลดีต่อคุณภาพเมล็ดพันธุ์แตงกวามากที่สุด จึงนำทั้ง 2 สูตรไปใช้ทดสอบการป้องกันโรคในการทดลองที่ 2 ซึ่งจากผลการทดสอบพบว่า การพอกเมล็ดด้วย metalaxyl ที่ระดับความเข้มข้น 0.5 กรัม/ปริมาณสารออกฤทธิ์ มีการเข้าทำลายของเชื้อรา 26 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งน้อยกว่าทุกกรรมวิธีทดลอง  ดังนั้นการพอกเมล็ดด้วย metalaxyl ที่ความเข้มข้น 0.5 กรัม/ปริมาณสารออกฤทธิ์ จึงเป็นชนิดและความเข้มข้นแนะนำสำหรับใช้พอกร่วมกับเมล็ดพันธุ์แตงกวาสำหรับใช้ป้องการกันการเข้าทำลายของเชื้อรา Pythium spp. ทั้งก่อนและหลังเมล็ดงอก

References

จักรพงษ์ กางโสภา และเพชรรัตน์ จี้เพชร. 2564. ผลของการเคลือบเมล็ดด้วย Metalaxyl, Captan และ Mancozeb หลังผ่านการทำไพรม์มิ่งต่อความงอกและการเจริญเติบโตของต้นกล้าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 29(3): 441-453.

จักรพงษ์ กางโสภา, อนันต์ วงเจริญ และบุญมี ศิริ. 2558. การพอกเมล็ดพันธุ์ร่วมกับสารป้องกันเชื้อราเพื่อยับยั้งเชื้อรา Pythium spp. ในระยะต้นกล้าของยาสูบ. แก่นเกษตร 43(4): 717-728.

ชณิตรา โพธิคเวษฐ์, ทรงศิลป์ พจน์ชนะชัย, อภิรดี อุทัยรัตนกิจ และภาณุมาศ ฤทธิไชย. 2553. ผลของการทำ priming ต่อคุณภาพของเมล็ดพันธุ์แตงกวา. วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร 41(3): 405-408.

ธรรมศักดิ์ สมมาตย์. 2543. สารเคมีป้องกันกำจัดโรคพืช. ภาควิชาโรคพืช คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพมหานคร. 371 หน้า.

ธิดารัตน์ แก้วคำ และบุญมี ศิริ. 2553. ผลของการเคลือบเมล็ดด้วยสารป้องกันโรคและแมลงต่อคุณภาพเมล็ดพันธุ์แตงกวาลูกผสม. วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร 46(1)พิเศษ: 480-483.

นิละมัย แสนสุภา, จักรพงษ์ กางโสภา, ประนอม ยังคำมั่น และฉัตรสุดา เผือกใจแผ้ว. 2565. ผลของการเคลือบเมล็ดร่วมกับ Streptomyces sp. CU-02 ต่อคุณภาพและการควบคุมโรคเน่าคอดินในผักกาดขาวปลี. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มรย. 7(1): 57-65.

บุญมี ศิริ. 2558. การปรับปรุงสภาพและยกระดับคุณภาพเมล็ดพันธุ์. พิมพ์ครั้งที่ 1. คลังนานาวิทยา, ขอนแก่น.

พัชรา คำพันธ์ และบุญมี ศิริ. 2564. การเปลี่ยนแปลงคุณภาพของเมล็ดพันธุ์แตงกวาลูกผสมหลังเคลือบร่วมกับสารควบคุม การเจริญเติบโตของพืช. วารสารแก่นเกษตร 49(1): 105-118.

พิสุทธิ์ เอกอำนวย. 2550. โรคและแมลงของพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ. สายธุรกิจโรงพิมพ์. พิมพ์ครั้งที่ 1. อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์ พับลิชชิ่ง, กรุงเทพมหานคร.

วนิดา ชื่นชัน, สุกันยา รักษาสระน้อย, สมศักดิ์ อยู่บริบูรณ์ และวรรณกร กิจจะ. 2562. การยับยั้งเชื้อรา Phytophthora parasitica ด้วยเชื้อราปฏิปักษ์ที่แยกได้จากดินในเขตพื้นที่ตำบลกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. วารสารวิทยาศาสตร์ลาดกระบัง 28(1): 53-64.

ศศิธร การะบุญ. 2551. ผลของความหนาของการพอกเมล็ดต่อคุณภาพเมล็ดพันธุ์. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยว บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.

สำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร. 2564. การส่งออกเมล็ดพันธุ์ควบคุมเพื่อการค้า ประจำปี พ.ศ. 2564. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: shorturl.at/dlMPZ. (3 มกราคม 2566).

สืบศักดิ์ สนธิรัตน์. 2540. การจัดการโรคพืช. ภาควิชาโรคพืช คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพมหานคร. 141 หน้า.

Abbasi, P.A. and G. Lazarovits. 2006. Seed treatment with phosphonate (AG3) suppresses pythium damping-off of cucumber seedlings. Plant Disease 90(4): 459-464.

Bisognin, D. A. 2002. Origin and evolution of cultivated cucurbits. Ciência Rural 32: 715–723.

Bruce, A.F., P.F. Francis, Reay-Jones and T.G. Dewitt. 2008. Tobacco pest management. Pee Dee Research and Education Center 2: Issue 1.

Halmer, P. 2008. Seed technology and seeds enhancement. Acta Horticulturae 771: 17-26.

Hill, H.J. 1994. Seed pelleting-history and modern fundamentals. HortScience 29: 1408.

Iersel, V.M.W. and B. Bugbee. 1996. Phytotoxic effects of fungicides on bedding plants. Journal of the American Society for Horticultural Science 121: 1095-1102.

ISTA. 2018. International Rules for Seed Testing, Edition 2018. International Seed Testing Association, Bassersdorf, 19(8): 5-24.

Jeephet, J., C. Atnaseo, S. Hermhuk and J. Kangsopa. 2022. Effect of seed pelleting with different matrices on physical characteristics and seed quality of lettuce (Lactuca sativa). International Journal of Agricultural Technology 18(5): 2009-2020.

Kangsopa, J., R.K. Hynes and B. Siri. 2018. Lettuce seeds pelleting: A new bilayer matrix for lettuce (Lactuca sativa) seeds. Seed Science and Technology 46(3): 521-531.

Laemmlen, F. 2001. Damping-off diseases. University of California, ANR Publication 8041: 1-4.

Lu, P., D.R. Aimonino, G. Gilardi, M. L. Gullino and A. Garibaldi. 2010. Efficacy of different steam distribution systems against five soilborne pathogens under controlled laboratory conditions. Phytoparasitica 38(2): 175-189.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-03-03

ฉบับ

บท

บทความวิจัย บทความวิชาการ