การคัดพันธุ์ข้าวบาร์เลย์เป็นอาหารฟังก์ชัน

ผู้แต่ง

  • สิปปวิชญ์ ปัญญาตุ้ย ศูนย์วิจัยข้าวสะเมิง อ. สะเมิง จ. เชียงใหม่
  • จารุวี อันเซตา ศูนย์วิจัยข้าวสะเมิง อ. สะเมิง จ. เชียงใหม่
  • ภัทรธีรา อินพลับ ศูนย์วิจัยข้าวสะเมิง อ. สะเมิง จ. เชียงใหม่
  • เนตรนภา อินสลุด สาขาวิชาพืชไร่ คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เชียงใหม่
  • สุรพล ใจวงศ์ษา สาขาพืชศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ลำปาง
  • วรรณพร คลังเพชร สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

คำสำคัญ:

การคัดเลือก, ข้าวบาร์เลย์, อาหารฟังก์ชัน

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาพันธุ์ข้าวบาร์เลย์ให้ได้ผลผลิตสูงและมีคุณภาพดี ดำเนินการศึกษาพันธุ์และเปรียบเทียบผลผลิต ตั้งแต่ฤดูปลูกปี 2563-2565 ณ ศูนย์วิจัยข้าวสะเมิง พบว่า จากการศึกษาพันธุ์ข้าวบาร์เลย์ จำนวน 34 สายพันธุ์ มี BCMU36-24-SMG-14, BCMU96-9-SMG-36, FNBL8306, FNBL#140, SMGBL94027 และ SMGBL90001-1-1-1 ที่แนวโน้มให้ผลผลิตต่อพื้นที่สูง จึงคัดเลือกสายพันธุ์ดังกล่าว ดำเนินการทดลองเปรียบเทียบผลผลิตภายในสถานี พบว่า ข้าวบาร์เลย์แต่ละสายพันธุ์มีค่าการเจริญเติบโต องค์ประกอบของผลผลิต ผลผลิต และคุณค่าทางโภชนาการมีความแตกต่างกันทางสถิติ โดยสายพันธุ์ BCMU36-24-SMG-14 และ BCMU96-9-SMG-26 มีศักยภาพในการนำมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์อาหารฟังก์ชันได้ดีกว่าสายพันธุ์/พันธุ์อื่น ซึ่งมีค่าเฉลี่ยของผลผลิต 491 และ 492 กิโลกรัมต่อไร่ ตามลำดับ ปริมาณเบต้ากลูแคน 5.6 และ 5.3 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ คาร์โบไฮเดรต 68.7 และ 69.1 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ โปรตีน 11.6 และ 11.2 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ไขมัน 1.7 และ 1.7 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ เยื่อใย 3.8 และ 4.1 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ และเถ้า 2.2 และ 2.4 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ

References

ขรรค์ชัย วงศ์บุรี, สุธีรา มูลศรี, ทัด ปินตาเสน, สุพรรณ สิทธิวงศ์, นิทัศน์ สิทธิวงศ์, ปริศนา หาญวิริยะพันธุ์, สนอง พิมพ์น้อย, ประไพพรรณ โค้วอินทร์, สาธิต รัชตเสรีกุล, เอกสิทธิ์ สกุลคู, สุชาวดี นาคะทัต, ณรงค์ อนยะวงศ์, สุชาดา อยู่ประเสริฐ, สุทัศน์ จุลศรีไกวัล, อาคม กาญจนประโชต, ธีรยุทธ ตู้จินดา, สุพัฒน์ บุญแรง, สมหวัง อนุสนธิ์พรเพิ่ม และงามชื่น รัตนดิรก. 2538. การศึกษาพันธุ์และการเปรียบเทียบผลผลิตธัญพืชเมืองหนาวชุดประเทศไทย. หน้า 178-223. ใน: การประชุมวิชาการธัญพืชเมืองหนาวแห่งชาติ ครั้งที่ 16. สถาบันวิจัยและฝึกอบรมการเกษตรลำปาง และโรงแรมลำปางเวียงทอง จ.ลำปาง.

งามชื่น รัตนดิลก. 2534. ปริมาณ beta-glucans ในการคัดพันธุ์ข้าวบาร์เลย์ ข้าวมอลต์และเบียร์. หน้า 189-192. ใน: การประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 29 4-7 กุมภาพันธ์ 2534 รายงานผลการวิจัย สาขาพืช. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพฯ.

งามชื่น รัตนดิลก. 2538. วิธีการปรับปรุงพันธุ์ข้าวบาร์เลย์ทำข้าวมอลต์. หน้า 98-110. ใน: การประชุมวิชาการธัญพืชเมืองหนาวแห่งชาติ ครั้งที่ 16. สถาบันวิจัยและฝึกอบรมการเกษตรลำปาง และโรงแรมลำปางเวียงทอง จ.ลำปาง.

ปิ่นมณี ขวัญเมือง. 2548. ฟังชันนัลฟูดส์: อาหารเพื่อสุขภาพ. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม 4(2): 43-50.

อาคม กาญจนประโชติ และสุรัตน์ นักหล่อ. 2539. คุณภาพมอลต์จากข้าวบาร์เลย์บางพันธุ์ที่ปลูกในภาคเหนือของประเทศไทย. หน้า 259-267. ใน: การประชุมวิชาการธัญพืชเมืองหนาวแห่งชาติ ครั้งที่ 17. โรงแรมอัมรินทร์ ลากูน จ.พิษณุโลก.

AOAC. 2005. Official Methods of Analysis. 18th ed. AOAC International. Guithersburg, Maryland, U.S.A. 3172 pp.

Castillo, C., García G., Hernández A. and M. Zamora. 2019. Proximate composition and energy value analysis of five varieties of malting barley. International Journal of Food Science and Biotechnology 4(2): 35-39.

Havrlentova, M. and J. Kraic. 2006. Content of β-D-glucan in cereal grains. Journal of Food and Nutrition Research 45(3):97-103.

Mutthanthirige, D. L. C. N., X. Zhao, D. C. Jeewani, J. Bian, X. Nie and S. Weining. 2018. Direct comparison of β-glucan content in wild and cultivated barley. International Journal of Food Properties 21(1): 2218-2228.

McCleary B., V., D.C. Mugford, M.C. Camire, T.S. Gibson, K. Harrigan, M. Janning, F. Meuser and P. Williams. 1997. Determination of ß-glucan in barley and oats by streamlined enzymatic method: summary of collaborative study. Journal of AOAC International 80(3): 580-583.

Telegraph. 2023. Italian-Scientists (online). source : www.telegraph.co.uk/news/2017/10/19/italian-scientists-claim-new-type-pasta-can-help-ward-hear (15 January 2023).

United States Department of Agriculture (USDA). 2023. Thailand's Food Trends in 2021 (online). source : https://www.businesswire.com/news/home/20210315005360/en/Global-Functional-Food-Ingredients-Market-Report-2021-Market-to-Reach-110.3-Billion-by-2027---U.S.-Market-is-Estimated-at-20.6-Billion-While-China-is-Forecast-to-Grow-at-8.4-CAGR---ResearchAndMarkets.com (15 January 2023).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-03-03

ฉบับ

บท

บทความวิจัย บทความวิชาการ