การประเมินปริมาณสารพฤกษเคมีของเชื้อพันธุกรรมกะเพรา 2 ฤดูกาลและสภาพการขาดน้ำระยะสั้น

ผู้แต่ง

  • อรสา กาญจนเจริญนนท์ ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน
  • สุกัญญา อัปกาญจน์ ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน
  • ณัฐริกา เหลาคำ ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน
  • อัครชัย โสมกุล ศูนย์วิจัยและพัฒนาพืชผักเขตร้อน ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน
  • จักรพงศ์ ภิญโญ ภาควิชาสัตวบาล คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน
  • อัญมณี อาวุชานนท์ ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน

บทคัดย่อ

กะเพราเป็นพืชผักที่นิยมของผู้บริโภคจึงมีการเพาะปลูกตลอดทั้งปี กะเพราในประเทศไทยมีหลายสายพันธุ์แต่ส่วนใหญ่เป็นพันธุ์พื้นเมือง ซึ่งสายพันธุ์เหล่านี้ได้รับการเก็บรวบรวมไว้โดยศูนย์วิจัยและพัฒนาพืชผักเขตร้อน และยังไม่มีการศึกษาสารพฤกษเคมีของเชื้อพันธุกรรมเหล่านั้น ดังนั้น งานวิจัยนี้จึงปลูกเชื้อพันธุกรรมกะเพรา 14 หมายเลข และพันธุ์การค้า 5 พันธุ์ ในสภาพแปลง เพื่อประเมินสารพฤกษเคมีใน 2 ฤดูกาล พบว่ามีอิทธิพลร่วมระหว่างพันธุกรรมและสภาพแวดล้อมต่อสารพฤกษเคมี แต่มีกะเพราสองหมายเลข ที่มีปริมาณสารเบต้า-แคโรทีน และคลอโรฟิลล์ทั้งหมด ไม่แตกต่างกันทั้งสองฤดูกาลคือ กะเพราเขียว OC-063 และ กะเพราแดง OC-194 กะเพราที่มีปริมาณฟีนอลิกสูงทั้งสองฤดูกาลประกอบด้วยกะเพราใบเขียว OC-024, OC-057, OC-063, OC-195 และ ใบสีแดง OC-194 นอกจากนี้ ยังประเมินสารพฤกษเคมีในสภาพขาดน้ำระยะสั้นเป็นเวลา 3, 6 และ 9 วัน พบว่า กะเพรามีการปรับตัวเมื่อได้รับความเครียดจากการขาดน้ำระยะสั้นไม่ขึ้นกับสีใบของกะเพรา โดยกะเพราส่วนใหญ่การขาดน้ำไม่มีผลต่อปริมาณสารเบต้า-แคโรทีน ส่วนกะเพราที่ตอบสนองต่อการขาดน้ำ มีปริมาณสารเบต้า-แคโรทีนเพิ่มขึ้น และปริมาณคลอโรฟิลล์ เอและคลอโรฟิลล์ บีลดลง ปริมาณสารประกอบฟีนอลิกในใบกะเพราส่วนใหญ่ลดลงเมื่อขาดน้ำ 3 วัน แต่เมื่ออยู่ในสภาพขาดน้ำระยะเวลา 9 วัน สารประกอบฟีนอลิกเพิ่มขึ้น

References

รัชนีกร นามบุดดี. 2564. การศึกษาลักษณะทางสัณฐานวิทยาและฤดูกาลเก็บเกี่ยวต่อปริมาณสารทุติยภูมิของกะเพรา (Ocimum sanctum L.). วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. กรุงเทพฯ. 112 หน้า.

ศูนย์ภูมิอากาศ กองพัฒนาอุตุนิยมวิทยา. 2564. สภาวะอากาศของประเทศไทย พ.ศ.2563. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://climate.tmd.go.th/content/file/2031 (13 มิถุนายน 2565).

Alishah, H.M., R. Heidari, A. Hassani and A.A. Dizaji. 2006. Effect of water stress on some morphological and biochemical characteristics of purple basil (Ocimum basilicum). Journal of Biological Sciences 6: 763-767.

Barickman, T.C., O.J. Olorunwa, A. Sehgal, C.H. Walne, K.R. Reddy and W. Gao. 2021. Yield, physiological performance, and phytochemistry of basil (Ocimum basilicum L.) under temperature stress and elevated CO2 concentrations. Plants (Basel) 10(6): 1072.

DOAE. 2016. Holy Basil in 2016. (Online): Available Source: https://production.doae.go.th (July 21, 2021).

DOAE. 2017. Holy Basil in 2017. (Online): Available Source: https://production.doae.go.th (July 21, 2021).

DOAE. 2019. Holy Basil in 2019. (Online): Available Source: https://production.doae.go.th (July 21, 2021).

Hakkim, F.L., C.G. Shankar and S. Girija. 2007. Chemical composition and antioxidant property of holy basil (Ocimum sanctum L.) leaves, stems, and inflorescence and their in vitro callus cultures. Journal of Agricultural and Food Chemistry 55(22): 9109-9117.

Huqail, A.A., R.M.E. Dakak, M.N. Sanad, R.H. Badr, M.M. Ibrahim, D. Soliman, and F. Khan. 2020. Effects of climate temperature and water stress on plant growth and accumulation of antioxidant compounds in sweet basil (Ocimum basilicum L.) leafy vegetable. Hindawi Scientifica 2020: 12.

Iakovos, K., M. Menexes,P.E. Georgiou and C. Dordas. 2020. Effect of water stress on the physiological characteristics of five basil (Ocimum basilicum L.) cultivars. Agronomy 10(7): 1029.

Keawsaard, S. 2012. Ocimum sanctum Linn. and free radical scavenging activity. Journal of Science Ladkrabang 21(2): 54-65.

Malumpong, C. 2019. Principles of Plant Breeding. Bangkok: Kasetsart University Press. 342 p.

Mondal, S., B.R. Mirdha and S.C. Mahapatra. 2009. The science behind sacredness of tulsi (Ocimum sanctum Linn.). Indian Journal of Physiology and Pharmacology 53: 291-306.

Muhammad, M.K., A.H. Muhammad, and S.A. Alfie. 2012. Variations in basil antioxidant contents in relation to deficit irrigation. Journal of Medicinal Plants Research 6(11): 2220-2223.

Nagata, M., and I. Yamashita. 1992. Simple method for simultaneous determination of chlorophyll and carotenoids in tomato fruit. Nippon Shokuhin Kogyo Gakkaishi 39(10): 925-928.

Nambuddee, R., P. Rithichai and Y. Jirakiattikul. 2020. Morphological characterization and grouping of holy basil (Ocimum sanctum L.). In: The 18th National Horticultural Congress. doi: 10.14457/KU.res.2020.14 p.6

Sarker, U. and S. Oba. 2018. Drought stress enhances nutritional and bioactive compounds, phenolic acids and antioxidant capacity of Amaranthus leafy vegetable. BMC Plant Biology 18: 258. https://doi.org/10.1186/s12870-018-1484-1

Srikachar, S., K. Damra, A. Siriudom, N. Satyasai, S. Chaulit and P. Kanchanakesorn. 2017. Combined pest control technology in holy basil/sweet basil. (Online): Available Source: https://www.doa.go.th/research/attachment.php?aid=2652 (July 21, 2021).

Thaipong, K., U. Boonprakob, L. Cisneros-Zevallos and D.H. Byrne. 2005. Hydrophilic and lipophilic antioxidant activities of guava fruits. Southeast Asian Journal of Tropical Medicine and Public Health 36(4): 254-257.

Wangcharoen, W. and W. Morasuk. 2007. Antioxidant capacity and phenolic content of holy basil. Songklanakarin Journal of Science and Technology 29(5): 1407-1415.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-03-03

ฉบับ

บท

บทความวิจัย บทความวิชาการ