การประมาณค่าน้ำหนักของกระบือปลักด้วยความยาวรอบอก
คำสำคัญ:
การประมาณค่า, น้ำหนัก, กระบือปลัก, ความยาวรอบอกบทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาสมการความสัมพันธ์ระหว่างความยาวรอบอกกับน้ำหนักตัวกระบือปลักสำหรับประมาณค่าน้ำหนักด้วยความยาวรอบอกโดยทำการศึกษาในกระบือปลักของ ฟาร์มโคเนื้อและกระบือ ภาควิชาสัตวบาล คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จำแนกเป็นเพศผู้ 41 ตัว มีอายุตั้งแต่แรกเกิดถึง 8 ปี เพศเมีย 131 ตัว มีอายุตั้งแต่แรกเกิดถึง 16 ปี รวมกระบือทั้งหมดจำนวน 172 ตัว และจำนวนข้อมูลทั้งหมด 517 ข้อมูล ทำการเก็บข้อมูลความยาวรอบอก (Heart girth) มีหน่วยเป็นเซนติเมตร กับน้ำหนัก (Body weight) มีหน่วยเป็นกิโลกรัม ผลการศึกษาพบว่า ความยาวรอบอกกับน้ำหนักตัวมีความสัมพันธ์กันสูงทั้งเพศผู้ (r = 0.9506) เพศเมีย (r = 0.9627) และคละเพศ (r = 0.9561) โดยมีรูปแบบสมการถดถอยแบบควาดราติคโพลีโนเมียล (Quadratic polynomial) มีค่าสัมประสิทธิ์การตัดสินใจ (R2) สูงสุด (0.9880) มากกว่ารูปแบบอื่นในเพศผู้ ส่วนในเพศเมียและคละเพศมีรูปแบบสมการถดถอยแบบยกกำลัง (Power) มีค่าสัมประสิทธิ์การตัดสินใจ (R2) สูงสุด (0.9870 และ 0.9790) มากกว่ารูปแบบอื่น เมื่อเปรียบเทียบค่าเปอร์เซ็นต์ความแม่นยำน้ำหนักจากการคำนวณจากสมการถดถอยรูปแบบ Power, Exponential และ Quadratic polynomial กับน้ำหนักจากการชั่งพบว่ามีค่าเท่ากับ 83.41, 96.23 และ 98.91 ตามลำดับ ดังนั้น จึงเลือกสมการถดถอยรูปแบบ Quadratic polynomial (y = 0.0228x2 - 2.7061x + 108.62) เหมาะสมนำไปจัดทำสายวัดรอบอก (Girth tape) เพื่อประมาณค่าน้ำหนักกระบือปลักที่ใกล้เคียง อันจะเป็นแนวทางในการใช้ประโยชน์สายวัดประมาณค่าน้ำหนักในกรณีที่ไม่มีเครื่องชั่งน้ำหนัก
References
จีรสิทธิ์ สงค์ประเสริฐ 2517. ลักษณะและการประมาณค่าลักษณะโคกระบือจากภาคต่างๆ ในฤดูต่างๆ กรุงเทพมหานคร : ปริญญานิพนธ์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
สุวัฒน์ รัตนรณชาติ. 2517. ลักษณะและความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะของโคและกระบือไทย. กรุงเทพมหานคร : ปริญญานิพนธ์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
นิกร เกิดประโคน ไชยวรรณ วัฒนจันทร์ เวชสิทธิ์ โทบุราณ 2537. การประมาณค่าน้ำหนักตัวกระบือจากความยาวรอบอก ความสูงของขาหน้า และความสูงสะโพก วารสารสัตวแพทยศาสตร์ มข. 4(1): 26-31.
พิพัฒน์ สมภาร 2549. น้ำหนักตัวและขนาดของแม่กระบือมูร่าห์เมื่อเจริญเต็มวัยภายใต้สภาพการเลี้ยงในประเทศไทย วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ภาษาไทย) 14 (1): 41-46.
Buvanendran, V., J.E. Umoh and B.Y. Abubakar, 1980. An evaluation of body size as related to weight of three West African breeds of cattle in Nigeria. The Journal of Agricultural Science, 95, 219–224.
Galib, I., C. Sumantri and A. Gunawan. 2017. Application of linear body measurements for predicting body weight of swamp buffalo. J. Ilmu Prod. Tek. Hasil Pet. 5: 41-45. (Abstract in English)
Kashoma, I.P.B., C. Luziga, C.W. Werema, G.A. Shirima and D. Ndossi. 2011 Predicting body weight of Tanzania shorthorn zebu cattle using heart girth measurements. Livestock Research for Rural Development. Volume 23, Article #94. Retrieved January 8, 2021, from http://www. lrrd.org/ lrrd23/4/kash23094.htm
Lesosky, M., S. Dumas, H. Conradie, I. G. Handel, A. Jennings, S. Thumbi, P. Toye and B. M. C. Bronsvoort. 2013. Alive weight-heart girth relationship for accurate dosing of African shorthorn zebu cattle. Trop. Anim. Health Prod. 45: 311-316.
Machila, N., E.M. Fèvre, I. Maudlin and M.C. Eisler 2008. Farmer estimation of live bodyweight of cattle: implications for veterinary drug dosing in East Africa. Preventive Veterinary Medicine, 87(3–4), 394–403.
Ozkaya, S. and Y. Bozkurt. 2009. The accuracy of estimation of body weight from body measurements in beef cattle. Archiv Tierzucht, 52: 371-377.
Paul, S.S. and K. S, Das. 2012. Estimation of body weight from linear body measurements in Nili-Ravi buffalo calves. J. Buffalo Sci. 1: 32-34.
Yan, T., C.S. Mayne, D.C.Patterson and R.E. Agnew. 2009. Estimation of body weight and empty body composition using body size measurements in lactating dairy cows. Livestock Science, 124(1-3): 233-241.